ชี้ชัดกันทางกฎหมาย “ภาพในกล้องวงจรปิดใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม่” Print
Written by super admin   
Monday, 16 April 2018 20:41

ชี้ชัดกันทางกฎหมาย “ภาพในกล้องวงจรปิดใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม่”

 

 

สำหรับธุรกิจร้านค้าโดยทั่วไป ประเด็นหลักในการลงทุนเสียค่าใช้จ่ายเพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด น่าจะมีด้วยกันหลักๆ อยู่ด้วยกันสามประเด็นใหญ่ๆ ก็คือ

  1. ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อเฝ้ามองการทำงานพนักงานตามจุดต่างๆ ว่าสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ที่วางไว้หรือไม่ หรือมีการแอบซ่อนไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามได้รับมอบหมายหรือไม่
  2. เฝ้ามองทรัพย์สินไม่ให้โดนทำลายหรือ ป้องกันพวกมือบอนไม่ให้นำสเปรย์สีมาพ่นตามจุดต่างๆที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังอยู่
  3. ติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อเฝ้าระวังเพื่อลดอัตราการขโมยทรัพย์สินและสินค้าภายในร้านค้า หรือเปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอีกคนที่เฝ้ามองร้านค้าของคุณอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงนั่นเอง

โดยปกติของการเกินการก่อโจรกรรมมักจะสัมผัสกับกิจวัตรประจำวันของร้านค้าและธุรกิจนั้นๆ ซึ่งรวมไปถึงบ้านพักอาศัยเช่นเดียวกัน ปัจจัยเรื่องก็คือ “เรื่องของเวลาการทำงานและการเข้าออกของผู้คนภายในร้านค้า” ซึ่งแน่นอนว่าหากมัวแต่พึ่งหน่วยงานของภาครัฐก็คงจะไม่ดีแน่เพราะค่อนข้างยากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะตรวจตราและเฝ้าระวังให้เราได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน “การติดกล้องวงจรปิด” ถือเป็นการป้องกันตนเองที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเอาเสียมากๆ

จากข้อมูลเบื้องต้นของกรมตำรวจได้ระบุไว้ว่าสำหรับการก่อโจรกรรมในประเทศไทยของเรานั้น “เหล่าโจรจะเลือกร้านค้าหรือบ้านที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัวเป็นอันดับแรก และโจรจะเลือกเข้าทางประตูมากถึง 34 เปอร์เซ็น เข้าทางหน้าต่าง 23 เปอร์เซ็น และประตูหลังบ้าน 22 เปอร์เซ็น (ทั้งหมดนี้เป็นตำแหน่งที่ควรจะวางกล้องวงจรปิดเอาไว้มากที่สุดตามคำแนะนำของกรมตำรวจ)” และแทบจะน้อยมากสำหรับโจรที่จะเลือกปีนขึ้นไปยังชั้นอื่นๆเพื่อหลบเลี่ยงตา เพราะค่อนข้างเสียเวลามาก

มีอีกหนึ่งสถิติที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับประเทศอื่นอยู่พอสมควรก็คือ โจรบ้านเราจะเลือกเข้าบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดและสูงถึงแม้จะเสียเวลาในการเข้าก็ตาม แต่กลับมองจุดนี้เป็นข้อดีในการปิดบังการโจรกรรมของตนเองจากสายตาคนภายนอกได้อย่างดี

 

 

 

 

ตัวเลขที่น่าสนใจมากอีกตัวหนึ่งก็เลยทีเดียวสำหรับ “ธุรกิจหน้าร้านที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้รอบร้าน หรือในตำแหน่งที่สามารถสังเกตได้ชัด จะสามารถช่วยลดการโจรกรรมได้มากขึ้นหลายเปอร์เซ็นเมื่อเทียบกันกับร้านค้าที่มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความภัยเฝ้าอยู่”

แต่หากจนแล้วจนรอดเกิดการโจรกรรมขึ้นมา ผู้ร้ายน่าจะใช้เวลาประมาณ 8-15 นาทีในการขโมยทรัพย์สินเท่าที่ทำได้ แต่จะไม่เลือกสิ่งของที่มีขนาดใหญ่มากเพราะจะเป็นปัญหาสำหรับการขนย้ายและเป็นที่สังเกตของคนภายนอกได้ง่าย นั่นหมายถึงว่า “หากมีกล้องวงจรปิดติดตั้งเอาไว้ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่นเส้นทางเข้าออก บริเวณรอบข้าง และที่ตั้งของทรัพย์สิน” ก็จะสามารถบันทึกภาพของโจรผู้ร้ายได้อย่างแม่นยำ “แต่ขอแนะนำกันในจุดนี้เสียก่อนว่า ในขั้นตอนการติดตั้งกล้องวงจรปิดนั้นควรคำนึงถึงสถานที่ของตนเองให้ถี่ถ้วน ทั้งเรื่องของแสง มุมกล้อง และขนาดของพื้นที่ เพราะการเลือกคุณภาพของกล้องวงจรปิดเป็นสิ่งสำคัญที่จะเห็นผลตอนที่นำภาพที่ถูกบันทึกเหล่านี้มาเป็นหลักฐานประกอบการแจ้งความ หรือค้นหาความจริงกันต่อไป”

จากข้อมูลเบื้องต้นจากฝ่ายสืบสวนตำรวจไทยได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กล้องวงจรปิดสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน พยานปากเอกได้อย่างดีเลยทีเดียว ถือว่าเป็นวัตถุพยานที่ใช้ในการหาข้อเท็จจริง และสามารถพิสูจน์ได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับภาพในกล้องวงจรปิดว่ามีการกระทำนั้นๆชัดเจนเพียงใด

แต่อีกแง่มุมหนึ่งในการใช้ภาพวงจรปิดไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สมควรถือว่าเป็นการกระทำความผิดฐานล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้เจ้าทุกข์ก็สามารถเอาผิดผู้เผยแพร่ตามกฎหมายได้เช่นเดียวกัน

หากต้องใช้ภาพในกล้องวงจรปิดเป็นหลักฐานควรทำอย่างไร ?

  1. เตรียมภาพเคลื่อนไหวในกล้องวงจรปิด ในช่วงที่ต้องการเป็นหลักฐานเอาไว้ให้ดี(รวมถึงภาพเต็มด้วย) ที่สำคัญจะต้องเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้ เพราะถือว่าเป็นหลักฐานที่ยังไม่มีการปรับแต่งและดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น
  2. แคปเจอร์ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภาพนิ่ง ชอตต่อชอต เรื่องลำดับให้ถูกต้องเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในหลักฐานที่เตรียมเอาไว้ โดยห้ามมีการพลิกแพลงหรือปรับแต่งใดๆทั้งสิ้นเพราะถือว่ามีเจตนาที่ไม่ดีทันที
  3. นำเอกสารทั้งหมดลงซองบรรจุอย่างมิดชิดก่อนจะทำร่วมลงนามด้วย ทำการรับรองเอกสารให้ถูกต้อง ป.วิ.อาญา ม.๙ ทุกกระบวนความ เพื่อใช้ทั้งหมดเป็นการประกอบพยานหลักฐานในชั้นศาลต่อไป
  4. ที่สำคัญมากๆ ก็คือการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรืออัยการให้เข้าใจตรงกันว่า เราประสงค์จะนำหลักฐานจากกล้องวงจรปิดเพื่อประกอบการพิจารณาคดีในชั้นศาล หรือขั้นตอนการสืบสวน
“ชี้ชัดกันไปตามกฎหมายเรียบร้อยว่า หลักฐานที่ได้จากกล้องวงจรปิดสามารถใช้เพื่อค้นหาความจริง เพื่อประกอบคดีความได้จริงและถือว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญเอาเสียด้วย” ประเด็นสำคัญที่ห้ามลืมนึกถึงเลยก็คือ ความสามารถของระบบกล้องวงจรปิดที่จะต้องตอบโจทย์ข้อนี้ให้ได้ด้วยเช่นกัน หากมีเพียงภาพที่ไร้คุณภาพจากกล้องคุณภาพต่ำ เห็นเพียงภาพเงาคนดำเคลื่อนที่ไปมา ก็ยากมากที่จะระบุได้ว่าคนคนนั้นเป็นใคร และก็ยากมากเช่นเดียวกันที่จะนำไปประกอบหลักฐานในชั้นศาล

Last Updated on Monday, 16 April 2018 21:33