สินค้า

ตู้สาขาโทรศัพท์ เครื่องสแกนนิ้วมือ เครื่องสแกนใบหน้า เครื่องสแกนระบบการ์ด เครื่องอ่านการ์ด กล้องวงจรปิด AVTECH กล้องวงจรปิด Hi-View กล้องวงจรปิด Hikvision กล้องวงจรปิด INNEKT กล้องวงจรปิด dahua กล้องวงจรปิด FUJIKO กล้องวงจรปิด KENPRO กล้องจรปิด Panasonic กล้องติดรถยนต์ โปรแกรมสแกนไวรัสลิขสิทธิ์แท้ ระบบ WiFi Internet สัญญาณกันขโมยบ้าน / ออฟฟิศ เครื่องสำรองไฟฟ้า ป้ายโฆษณา LED (ขาย-ให้เช่า) ป้ายไฟวิ่ง แผงไม้กั้นประตู หมู่บ้าน ,ทางเข้า ทางออก Car Parking System Video Door Phone Wirelss Video Door Phone Digital Door Lock งานเข้าหัวไฟเบอร์ ออฟติค Video Conference ประตูรีโมท ประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ (Auto door) ประตูอัตโนมัติ (Folding Gate) ระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้ (fire alarm) อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ตู้เซฟ HomeXpert รั้วไฟฟ้า ระบบห้องประชุม ระบบ POS Network accessories ประตูรีโมทเลื่อน ประตูรีโมทสวิง ประตูยืดอัตโนมัติ ประตูปีกผีเสื้อ แขนกั้นรถอัตโนมัติ เครื่องตรวจอาวุธ ประตูอัตโนมัติ ประตูโรงรถ เสากั้นการบุกรุก กลอนประตูดิจิตอล เครื่องอ่านการ์ดเปิด-ปิดไฟ วิดีโอ คอนเฟอเร็นซ์ นาฬิกายาม FIber Optic Accessries RACK 19" LAN CABLE ระบบประตูกั้นทางเดิน New Product

List All Products

จำนวนผู้เข้าชม

/home/allsulu/domains/allsolutionstech.com/public_html/administrator/components/com_vvisit_counter/helpersPlease reinstall [Vinaora Visitors Counter] component53
อบจ.สนับสนุนตำรวจ ๙๐ ล. ติดกล้องวงจรปิดทั่วโคราช เพิ่มความปลอดภัยประชาชน PDF Print E-mail
Written by Administrator   
Wednesday, 09 February 2022 17:09

 

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่ห้องลำตะคอง ๓ โรงแรมแคนทารีโคราช มีพิธีลงนามความร่วมมือโครงการ บูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยนางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา กับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา โดย พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย Safety Zone ในจังหวัดนครราชสีมา ตามนโยบายรัฐบาล ในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่สาธารณะ และสอดคล้องกับนโยบายเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของจังหวัดนครราชสีมา และนโยบายพื้นที่ปลอดภัย (Save Zone) ของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีจากกล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล (บิ๊กโจ๊ก) ที่ปรึกษา (พิเศษ) สบ.๙ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ เป็นสักขีพยาน

 

นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า “ตำรวจมีกำลัง มีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ตำรวจไม่มีงบประมาณ ซึ่งวันนี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ เข้ามาเพื่อเป็นผู้แทนของคนโคราช เคยมีสัญญากับประชาชนในเรื่องความปลอดภัย ความสงบสุข ความปลอดภัยด้านอาชญากรรม และความปลอดภัยด้านการจราจร ซึ่ง อบจ.มีงบประมาณ แต่ขาดกำลังในการดำเนินโครงการ อบจ.จึงนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาให้ตำรวจ เพื่อทำให้คำสัญญาที่รับปากกับคนโคราชเป็นจริง คือ การทำโคราชให้ปลอดภัยและสงบสุข และในยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดไว้แล้วว่า เป้าหมายให้ประชาชนกินดีอยู่ดีและมีความสุข จากนั้น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงต่อยอดจากโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ คือ การทำให้ประชาชนรักและเข้าใจตำรวจ แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอดีตอาจจะเป็นเรื่องระหว่างตำรวจกับประชาชน ปัจจุบันเป็นเรื่องระหว่างตำรวจ ประชาชน และเทคโนโลยี จึงทำให้เกิดโครงการ Smart Safety Zone เพื่อรองรับโครงการ Smart City พร้อมกับทำให้พื้นที่โคราชมีความปลอดภัยมากที่สุด”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล

“วิสัยทัศน์ของ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ ๑ อำเภอ ๑ Safety Zone คนแรกในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจะลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายก อบจ.ทุกแห่ง ดังนั้นในสำนักงานตำรวจภูธรภาค ๓ จึงถือเป็น สิ่งที่ดีผู้กำกับ หัวหน้าสถานี และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด จะได้ไม่เหนื่อยมาก เพราะ พล.ต.ท.ภานุรัตน์  หลักบุญ ทำไว้ให้หมดแล้ว เพียงต้องนำไปต่อยอดให้ชัดเจน นอกจากนี้ การทำโครงการนี้ ผบ.ตร.ยังเน้น การทำงานแนวใหม่ใช้การทำงานเชิงรุกนำการทำงานเชิงรับ ซึ่งการทำงานเชิงรุก คือ การป้องกันปราบปราม และปัจจุบันประชาชนชอบมากที่สุด ทำให้เหตุการณ์ร้ายไม่เกิดขึ้น ประหยัดงบประมาณ และลดปัญหาทางสังคม จากการสำรวจในการทำงานลักษณะนี้ ประชาชนไว้ใจมากที่สุด คือ กล้องวงจรปิด พร้อมกับขยายให้เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา โดยงบประมาณที่ได้รับจาก อบจ. จำนวน ๙๐ ล้านบาท จะนำไปดำเนินการเรื่องกล้องวงจรปิด ทั้งระบบปกติและระบบปัญญาประดิษฐ์”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า “ในการขับเคลื่อนโครงการ Smart Safety Zone จะเน้นพื้นที่ในชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในท้องถิ่น และดึงสัญญาณกล้องมาที่สถานีตำรวจ เมื่อมีคนร้ายเข้าบ้านหรือเข้าไปในชุมชน ภาพคนร้ายก็จะแสดงในจอโทรศัพท์เจ้าของบ้าน และแสดงที่จอห้องสั่งการในสถานีตำรวจ ซึ่งทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการนี้เวลามีเหตุร้ายเกิดขึ้น ตำรวจจะต้องคัดภาพจากกล้องก็ไม่ต้องไปที่บ้านผู้เสียหาย สามารถคัดภาพที่สถานีตำรวจได้ทันที โดยจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการมากที่สุด วินมอเตอร์ไซค์หน้าปากซอย ก็จะต้องมีเบอร์ของผู้กำกับ ผู้นำชุมชนจะต้องมีหน้าที่ดูแลคนในชุมชน ทุกพื้นที่ต้องมีเจ้าภาพ พื้นที่ใดมืด ไม่ปลอดภัย จะต้องทำให้สว่างและปลอดภัย ซึ่งผมเชื่อว่า อบจ.โคราช พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากมติ ครม.ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือความหวาดกลัวภัยของประชาชนในพื้นที่ เช่น เมื่อมีเหตุระเบิดที่จังหวัดขอนแก่น มีผู้เสียชีวิต ๒๐ ราย แต่คนโคราชก็ไม่ต้องหวาดกลัว เพราะไม่กระทบต่อการดำรงชีวิต แต่ขณะเดียวกันคนโคราชกำลังเดินทางกลับบ้าน เห็นกลุ่มวัยรุ่นนั่งดื่มสุรา ก็จะรู้สึกหวาดกลัวทันที เพราะว่า สิ่งเหล่านี้กระทบต่อการดำรงชีวิต เป็นความรู้สึกหวาดกลัวเมื่อพบเหตุการณ์ การติดตั้งกล้องวงจรปิด การเพิ่มไฟส่องสว่าง การตัดต้นไม้ที่รกน่ากลัว และการตีเส้นจราจรบนถนน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างสบายใจและปลอดภัย จึงเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า “ในช่วงนี้การท่องเที่ยวในประเทศหยุดชะงัก ยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ จึงเป็นเวลาที่ทุกจังหวัดจะต้องเร่งดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัย เมื่อเปิดประเทศ ผมเชื่อว่า นักท่องเที่ยวหรือนักลงทุน จะหลั่งไหลเข้ามาในโคราชแน่นอน แต่ถ้าถึงวันนั้นแล้ว โคราชยังไม่มีมาตรการหรือความพร้อมด้านความปลอดภัย อาชญากรรมก็จะกลับมาเหมือนเดิมหรือมากขึ้น นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วถูกลักทรัพย์ เมื่อเขากลับไป ก็จะโพสต์บอกเล่าเรื่องราว และบอกคนที่ติดตามว่า มาโคราชแล้วไม่ปลอดภัย ถูกลักทรัพย์ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ Smart Safety Zone ในทุกพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมในการรับการเปิดเมืองหรือเปิดประเทศ ที่กำลังจะดำเนินการในเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้มีการนำร่อง ๑๕ สถานี เช่น ที่ภูเก็ต หาดใหญ่ เขียงใหม่ อุดรธานี พิษณุโลก และสมุทรปราการ จากตัวชี้วัดในพื้นที่นำร่องเหล่านี้ พบว่า ประชาชนต้องการที่จะให้ดำเนินการโครงการต่อไป มีความพึงพอใจ อุบัติเหตุลดลง ดังนั้น ท่าน ผบ.ตร.จึงประกาศให้ขยายโครงการ Smart Safety Zone ให้มีทุกจังหวัด”

“ในส่วนของตำรวจภูธรภาค ๓ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ได้วางแนวทางไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะในวันนี้ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ. จำนวน ๙๐ ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยจะเริ่มต้นแต่วันที่ ๑ ตุลาคมนี้ ผมในฐานะผู้ที่จะต้องช่วยผลักดันโครงการนี้ จึงได้พูดคุยกับปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า ช่วยบอกกับนายก อบจ.ทุกแห่งทั่วประเทศ ขอความกรุณาสนับสนุนงบประมาณตำรวจภูธรจังหวัด ทั้ง ๗๗ จังหวัด เมื่อ อบจ.ทุกแห่งทราบแล้ว ผมก็จะประสานผู้บังคับการในพื้นที่นั้นๆ เข้าไปติดต่อเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ โดยยึดโมเดลของตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมากับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นแบบ ผมขอสัญญากับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายก อบจ. ว่า ตำรวจทุกนายในโคราช จะนำงบประมาณ ๙๐ ล้านบาท ไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบที่แท้จริงต่อคนโคราชต่อไป” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าว

พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราช สีมา กล่าวว่า “ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. กำหนดนโยบายบริหารจัดการประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ต้องการให้มีพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน หมู่บ้าน โดยเฉพาะยามวิกาล เพื่อไม่ให้เกิดความหวาดกลัวและอันตราย พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ จึงรับนโยบายมาขับเคลื่อนในพื้นที่ของตำรวจภูธรภาค ๓ โดยให้ดำเนินโครงการ ๑ อำเภอ ๑ Safety Zone ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ทั้ง ๕๑ สถานี รับนโยบายมาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องยอมรับว่า โคราชมีพื้นที่กว้างขวาง จึงต้องหาการสนับสนุนจากภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ จึงมีแนวคิดว่า คงจะต้องขอรับการสนับสนุนจาก อบจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพเพียงพอในการสนับสนุนภารกิจของตำรวจ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีลงนามในวันนี้ โดยผมได้เข้าไปพบกับนายก อบจ. พร้อมกับเสนอว่า ในหลายประเทศที่มีความเจริญ การป้องกันอาชญากรรม การอำนวยความสะดวกด้านจราจร และการติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการ ซึ่งโคราชยังไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพียงพอ และการรวมศูนย์บริหารจัดการในจุดเดียว เพื่อควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยของประชาชน โดยในกรอบความร่วมมือ จะมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมกล้องวงจรปิดที่ตำรวจภูธรจังหวัดฯ ซึ่งจะรวมภาพจากทุกกล้องในจังหวัด มาอยู่ในจุดเดียว และจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก็จะสามารถทราบได้ทันที โดยในปีนี้จะเน้นการติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบเขตเทศบาล นครฯ เน้นถนนเส้นหลัก เช่น ถนนมิตรภาพ และถนน ๓๐๔ (ราชสีมา-ปักธงชัย) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และแก้ไขปัญหาการจราจร จากนั้นในเฟสถัดไป ก็จะขยายให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด”
อบจ.สนับสนุน ๙๐ ล้านบาท

นางยลดา หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า “วันนี้รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยตำรวจภูธรภาค ๓ มาร่วมบูรณาการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่ง อบจ.นครราชสีมา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยลดปัจจัยในการก่ออาชญากรรมในพื้นที่ ซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ อบจ.นครราชสีมา จึงจัดให้มีการ บูรณาการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่ง MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา ๔ ปี ที่จะดำเนินการภายใต้กรอบและแนวทาง ประกอบด้วย การติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมอุปกรณ์ ในพื้นที่เสี่ยงในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้เชื่อมโยงไปยังห้องควบคุมและสั่งการ โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๖๔ ดำเนินการนำร่องครอบคลุม ๑๐ อำเภอ ได้แก่ ๑.อำเภอปากช่อง ๒.ด่านขุนทด ๓.สีคิ้ว ๔.สูงเนิน ๕.เมือง ๖.โนนสูง ๗.คง ๘.โนนแดง ๙.สีดา และ ๑๐.บัวลาย จำนวน ๑๐ ล้านบาท และคาดว่าจะดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ ๓๒ อำเภอ โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๖๕ จำนวน ๔๐ ล้านบาท และปี ๒๕๖๖ จำนวน ๔๐ บาท รวมเป็นงบประมาณกว่า ๙๐ ล้านบาท”

ทั้งนี้ โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ตามนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย ลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม โดยมีสถานีตำรวจนำร่องทั่วประเทศจำนวน ๑๕ สถานี ประกอบด้วย สน.ลุมพินี, สน.ห้วยขวาง, สน.ภาษีเจริญ, สภ.ปากเกร็ด, สภ.เมืองสมุทรปราการ, สภ.เมืองพัทยา, สภ.เมืองระยอง, สภ.เมืองปราจีนบุรี, สภ.ปากช่อง, สภ.เมืองอุดรธานี, สภ.เมืองเชียงใหม่, สภ.เมืองพิษณุโลก, สภ.เมืองราชบุรี, สภ.เมืองภูเก็ต และ สภ.หาดใหญ่ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแลนด์มาร์ค แหล่งเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมมาสร้างเป็นพื้นที่ปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ และปลอดภัยในชุมชน

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่ห้องลำตะคอง ๓ โรงแรมแคนทารีโคราช มีพิธีลงนามความร่วมมือโครงการ บูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยนางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา กับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา โดย พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ในการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย Safety Zone ในจังหวัดนครราชสีมา ตามนโยบายรัฐบาล ในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่สาธารณะ และสอดคล้องกับนโยบายเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของจังหวัดนครราชสีมา และนโยบายพื้นที่ปลอดภัย (Save Zone) ของผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีจากกล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล (บิ๊กโจ๊ก) ที่ปรึกษา (พิเศษ) สบ.๙ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ เป็นสักขีพยาน

 

นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.นครราชสีมา

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า “ตำรวจมีกำลัง มีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ตำรวจไม่มีงบประมาณ ซึ่งวันนี้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ เข้ามาเพื่อเป็นผู้แทนของคนโคราช เคยมีสัญญากับประชาชนในเรื่องความปลอดภัย ความสงบสุข ความปลอดภัยด้านอาชญากรรม และความปลอดภัยด้านการจราจร ซึ่ง อบจ.มีงบประมาณ แต่ขาดกำลังในการดำเนินโครงการ อบจ.จึงนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาให้ตำรวจ เพื่อทำให้คำสัญญาที่รับปากกับคนโคราชเป็นจริง คือ การทำโคราชให้ปลอดภัยและสงบสุข และในยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดไว้แล้วว่า เป้าหมายให้ประชาชนกินดีอยู่ดีและมีความสุข จากนั้น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงต่อยอดจากโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ คือ การทำให้ประชาชนรักและเข้าใจตำรวจ แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอดีตอาจจะเป็นเรื่องระหว่างตำรวจกับประชาชน ปัจจุบันเป็นเรื่องระหว่างตำรวจ ประชาชน และเทคโนโลยี จึงทำให้เกิดโครงการ Smart Safety Zone เพื่อรองรับโครงการ Smart City พร้อมกับทำให้พื้นที่โคราชมีความปลอดภัยมากที่สุด”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล

“วิสัยทัศน์ของ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ ๑ อำเภอ ๑ Safety Zone คนแรกในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยจะลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายก อบจ.ทุกแห่ง ดังนั้นในสำนักงานตำรวจภูธรภาค ๓ จึงถือเป็น สิ่งที่ดีผู้กำกับ หัวหน้าสถานี และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด จะได้ไม่เหนื่อยมาก เพราะ พล.ต.ท.ภานุรัตน์  หลักบุญ ทำไว้ให้หมดแล้ว เพียงต้องนำไปต่อยอดให้ชัดเจน นอกจากนี้ การทำโครงการนี้ ผบ.ตร.ยังเน้น การทำงานแนวใหม่ใช้การทำงานเชิงรุกนำการทำงานเชิงรับ ซึ่งการทำงานเชิงรุก คือ การป้องกันปราบปราม และปัจจุบันประชาชนชอบมากที่สุด ทำให้เหตุการณ์ร้ายไม่เกิดขึ้น ประหยัดงบประมาณ และลดปัญหาทางสังคม จากการสำรวจในการทำงานลักษณะนี้ ประชาชนไว้ใจมากที่สุด คือ กล้องวงจรปิด พร้อมกับขยายให้เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา โดยงบประมาณที่ได้รับจาก อบจ. จำนวน ๙๐ ล้านบาท จะนำไปดำเนินการเรื่องกล้องวงจรปิด ทั้งระบบปกติและระบบปัญญาประดิษฐ์”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า “ในการขับเคลื่อนโครงการ Smart Safety Zone จะเน้นพื้นที่ในชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในท้องถิ่น และดึงสัญญาณกล้องมาที่สถานีตำรวจ เมื่อมีคนร้ายเข้าบ้านหรือเข้าไปในชุมชน ภาพคนร้ายก็จะแสดงในจอโทรศัพท์เจ้าของบ้าน และแสดงที่จอห้องสั่งการในสถานีตำรวจ ซึ่งทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการนี้เวลามีเหตุร้ายเกิดขึ้น ตำรวจจะต้องคัดภาพจากกล้องก็ไม่ต้องไปที่บ้านผู้เสียหาย สามารถคัดภาพที่สถานีตำรวจได้ทันที โดยจะเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการมากที่สุด วินมอเตอร์ไซค์หน้าปากซอย ก็จะต้องมีเบอร์ของผู้กำกับ ผู้นำชุมชนจะต้องมีหน้าที่ดูแลคนในชุมชน ทุกพื้นที่ต้องมีเจ้าภาพ พื้นที่ใดมืด ไม่ปลอดภัย จะต้องทำให้สว่างและปลอดภัย ซึ่งผมเชื่อว่า อบจ.โคราช พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากมติ ครม.ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือความหวาดกลัวภัยของประชาชนในพื้นที่ เช่น เมื่อมีเหตุระเบิดที่จังหวัดขอนแก่น มีผู้เสียชีวิต ๒๐ ราย แต่คนโคราชก็ไม่ต้องหวาดกลัว เพราะไม่กระทบต่อการดำรงชีวิต แต่ขณะเดียวกันคนโคราชกำลังเดินทางกลับบ้าน เห็นกลุ่มวัยรุ่นนั่งดื่มสุรา ก็จะรู้สึกหวาดกลัวทันที เพราะว่า สิ่งเหล่านี้กระทบต่อการดำรงชีวิต เป็นความรู้สึกหวาดกลัวเมื่อพบเหตุการณ์ การติดตั้งกล้องวงจรปิด การเพิ่มไฟส่องสว่าง การตัดต้นไม้ที่รกน่ากลัว และการตีเส้นจราจรบนถนน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างสบายใจและปลอดภัย จึงเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้”

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า “ในช่วงนี้การท่องเที่ยวในประเทศหยุดชะงัก ยังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ จึงเป็นเวลาที่ทุกจังหวัดจะต้องเร่งดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัย เมื่อเปิดประเทศ ผมเชื่อว่า นักท่องเที่ยวหรือนักลงทุน จะหลั่งไหลเข้ามาในโคราชแน่นอน แต่ถ้าถึงวันนั้นแล้ว โคราชยังไม่มีมาตรการหรือความพร้อมด้านความปลอดภัย อาชญากรรมก็จะกลับมาเหมือนเดิมหรือมากขึ้น นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วถูกลักทรัพย์ เมื่อเขากลับไป ก็จะโพสต์บอกเล่าเรื่องราว และบอกคนที่ติดตามว่า มาโคราชแล้วไม่ปลอดภัย ถูกลักทรัพย์ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ Smart Safety Zone ในทุกพื้นที่ เพื่อเตรียมพร้อมในการรับการเปิดเมืองหรือเปิดประเทศ ที่กำลังจะดำเนินการในเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้มีการนำร่อง ๑๕ สถานี เช่น ที่ภูเก็ต หาดใหญ่ เขียงใหม่ อุดรธานี พิษณุโลก และสมุทรปราการ จากตัวชี้วัดในพื้นที่นำร่องเหล่านี้ พบว่า ประชาชนต้องการที่จะให้ดำเนินการโครงการต่อไป มีความพึงพอใจ อุบัติเหตุลดลง ดังนั้น ท่าน ผบ.ตร.จึงประกาศให้ขยายโครงการ Smart Safety Zone ให้มีทุกจังหวัด”

“ในส่วนของตำรวจภูธรภาค ๓ พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ได้วางแนวทางไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะในวันนี้ ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ. จำนวน ๙๐ ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็นช่วงๆ โดยจะเริ่มต้นแต่วันที่ ๑ ตุลาคมนี้ ผมในฐานะผู้ที่จะต้องช่วยผลักดันโครงการนี้ จึงได้พูดคุยกับปลัดกระทรวงมหาดไทยว่า ช่วยบอกกับนายก อบจ.ทุกแห่งทั่วประเทศ ขอความกรุณาสนับสนุนงบประมาณตำรวจภูธรจังหวัด ทั้ง ๗๗ จังหวัด เมื่อ อบจ.ทุกแห่งทราบแล้ว ผมก็จะประสานผู้บังคับการในพื้นที่นั้นๆ เข้าไปติดต่อเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ โดยยึดโมเดลของตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมากับองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้นแบบ ผมขอสัญญากับผู้ว่าราชการจังหวัด และนายก อบจ. ว่า ตำรวจทุกนายในโคราช จะนำงบประมาณ ๙๐ ล้านบาท ไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความสงบที่แท้จริงต่อคนโคราชต่อไป” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าว

พล.ต.ต.พรชัย นลวชัย ผบก.ภ.จว.นครราช สีมา กล่าวว่า “ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. กำหนดนโยบายบริหารจัดการประจำปี ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ต้องการให้มีพื้นที่ปลอดภัยในชุมชน หมู่บ้าน โดยเฉพาะยามวิกาล เพื่อไม่ให้เกิดความหวาดกลัวและอันตราย พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ จึงรับนโยบายมาขับเคลื่อนในพื้นที่ของตำรวจภูธรภาค ๓ โดยให้ดำเนินโครงการ ๑ อำเภอ ๑ Safety Zone ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ทั้ง ๕๑ สถานี รับนโยบายมาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และเข้าร่วมโครงการ แต่ต้องยอมรับว่า โคราชมีพื้นที่กว้างขวาง จึงต้องหาการสนับสนุนจากภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถดำเนินการได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด พล.ต.ท.ภานุรัตน์ หลักบุญ จึงมีแนวคิดว่า คงจะต้องขอรับการสนับสนุนจาก อบจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพเพียงพอในการสนับสนุนภารกิจของตำรวจ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีลงนามในวันนี้ โดยผมได้เข้าไปพบกับนายก อบจ. พร้อมกับเสนอว่า ในหลายประเทศที่มีความเจริญ การป้องกันอาชญากรรม การอำนวยความสะดวกด้านจราจร และการติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการ ซึ่งโคราชยังไม่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพียงพอ และการรวมศูนย์บริหารจัดการในจุดเดียว เพื่อควบคุม กำกับ และดูแลความปลอดภัยของประชาชน โดยในกรอบความร่วมมือ จะมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมกล้องวงจรปิดที่ตำรวจภูธรจังหวัดฯ ซึ่งจะรวมภาพจากทุกกล้องในจังหวัด มาอยู่ในจุดเดียว และจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมตลอด ๒๔ ชั่วโมง เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นก็จะสามารถทราบได้ทันที โดยในปีนี้จะเน้นการติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบเขตเทศบาล นครฯ เน้นถนนเส้นหลัก เช่น ถนนมิตรภาพ และถนน ๓๐๔ (ราชสีมา-ปักธงชัย) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และแก้ไขปัญหาการจราจร จากนั้นในเฟสถัดไป ก็จะขยายให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด”
อบจ.สนับสนุน ๙๐ ล้านบาท

นางยลดา หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า “วันนี้รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยตำรวจภูธรภาค ๓ มาร่วมบูรณาการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่ง อบจ.นครราชสีมา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยและการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยลดปัจจัยในการก่ออาชญากรรมในพื้นที่ ซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งที่ต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ อบจ.นครราชสีมา จึงจัดให้มีการ บูรณาการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่ง MOU ฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา ๔ ปี ที่จะดำเนินการภายใต้กรอบและแนวทาง ประกอบด้วย การติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV พร้อมอุปกรณ์ ในพื้นที่เสี่ยงในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ให้เชื่อมโยงไปยังห้องควบคุมและสั่งการ โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๖๔ ดำเนินการนำร่องครอบคลุม ๑๐ อำเภอ ได้แก่ ๑.อำเภอปากช่อง ๒.ด่านขุนทด ๓.สีคิ้ว ๔.สูงเนิน ๕.เมือง ๖.โนนสูง ๗.คง ๘.โนนแดง ๙.สีดา และ ๑๐.บัวลาย จำนวน ๑๐ ล้านบาท และคาดว่าจะดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ ๓๒ อำเภอ โดยใช้งบประมาณปี ๒๕๖๕ จำนวน ๔๐ ล้านบาท และปี ๒๕๖๖ จำนวน ๔๐ บาท รวมเป็นงบประมาณกว่า ๙๐ ล้านบาท”

ทั้งนี้ โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ตามนโยบายของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัย ลดความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม โดยมีสถานีตำรวจนำร่องทั่วประเทศจำนวน ๑๕ สถานี ประกอบด้วย สน.ลุมพินี, สน.ห้วยขวาง, สน.ภาษีเจริญ, สภ.ปากเกร็ด, สภ.เมืองสมุทรปราการ, สภ.เมืองพัทยา, สภ.เมืองระยอง, สภ.เมืองปราจีนบุรี, สภ.ปากช่อง, สภ.เมืองอุดรธานี, สภ.เมืองเชียงใหม่, สภ.เมืองพิษณุโลก, สภ.เมืองราชบุรี, สภ.เมืองภูเก็ต และ สภ.หาดใหญ่ โดยคัดเลือกพื้นที่ที่เป็นแลนด์มาร์ค แหล่งเศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ประชาชนมีความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมมาสร้างเป็นพื้นที่ปลอดภัย และสร้างความเชื่อมั่น อุ่นใจ และปลอดภัยในชุมชน

 

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับ Cookie Policy & Privacy.